วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต

 อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือ ข่าย วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้ สังคม ก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตาม การขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรม การ เมือง ผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต
  กิจกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตต่างๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นแนวโน้มว่า มนุษย์เราไม่ได้ใช้ อินเทอร์เน็ต เพียง เพื่อการส่ง ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) ค้นหา ข้อมูล หรือพักผ่อน บันเทิงอีกแล้ว แต่เป็นการปรับตัวใช้อินเทอร์เน็ตในการดำเนินวิถีชีพ เพื่อให้สอดคล้อง กับสภาวะสังคมดิจิทัล เป็นเวลาร่วมกว่า 30 ปีที่เครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของรัฐบาลอเมริกา ที่ช่วยให้หน่วยงานของรัฐบาล และสถาบันการศึกษาสามารถเชื่อมโยงสื่อสารถึงกัน และถือ เป็นเครือข่ายเริ่มแรก ที่ต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน และเป็น เวลาร่วมกว่า 28 ปี ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแพร่หลายสู่โลก
          ท้ายสุดมาถึงอินเทอร์เน็ตที่เริ่มเปิดตัวต่อสาธารณชนไม่ถึง 10 ปีแต่กลับใช้ระยะเวลาใน 5 ปี หลังแปรสภาพจากเครือข่ายสื่อสารธรรมดาเป็นเครือข่ายอรรถประโยชน์สู่สาธารณชน (Public Utility) ประกอบกับแรงขับหนุนของประสิทธิภาพของชิพ (Chip) สมรรถภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ การวางโครงข่ายสื่อสัญญาณความเร็วสูงด้วยเส้นใยนำแสง และโปรแกรมค้นดู หรือบราวน์เซอร์ (Browser) ที่ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานนี่เอง จึงทำให้ชาวโลกหันมานิยมใช้อินเทอร์เน็ต ใน การสื่อสารและทำธุรกรรมร่วมกัน และเป็นที่แน่นอนว่านับจากนี้ไปอีก 2-3 ปี การเติบโตของ ธุรกิจ ใหม่ๆ ในอินเทอร์เน็ต จะทำให้ตัวเลขของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกระโดดเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว กระแสคลื่นเทคโนโลยีสารสนเทศ โถมถั่งไปทุกแวดวง ไม่ว่าแวดวงการศึกษา ธุรกิจ การเงิน การแพทย์ การท่องเที่ยว และการบริการ จนกล่าวได้ว่าข่าวสาร และการสื่อสารต่างๆ เท่าที่มนุษย์เคยใช้งานมา ต่างถูกแปลงเป็นดิจิทัล (Digitized) แล้วแทบทั้งสิ้น


          จากนี้ไปการติดต่อสื่อสารที่มนุษย์ไม่เคยคาดคิดว่า สามารถทำได้มาก่อนก็จะปรากฏให้ เห็น ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ณ วันนี้ ผู้บริหารองค์กรต่างๆ ต้องคิดหนักว่าทำอย่างไรจึง จะนำธุรกิจ ของตนไปประกอบการค้าบนอินเทอร์เน็ตได้ และโปรดเชื่อเถิดว่า ถ้าคุณไม่ทำ คู่แข่งของคุณต้องทำแน่ เมื่อกระแสการแข่งขันรุนแรง นวัตกรรม และรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ จะทยอยไหลหลากตามมา วันนี้เรามีการดำเนินธุรกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อาทิ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) การศึกษาทางไกล (e-Education) โทรเวช (e-Me dicine) โทรบันเทิง (e-Entertainment) และการเมืองอิเล็กทรอนิกส์ (e-Politics) ทุกสิ่งที่กล่าวถึง เหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตความคิด และการทำงานของเรานี่ ไม่ใช่ สิ่งที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ และทุกขณะนี้ โดยในชีวิตประจำ วันคุณ จะพบกับ


  • การจับจ่ายสินค้าแบบเชื่อมตรงหรือผ่านเว็บไซต์ (On-line Shopping)
  • การเรียนการสอนที่อาจารย์บรรยาย จากสถานที่แห่งหนึ่งผ่านไปยังนักศึกษาซึ่งอยู่อีกแห่งที่ห่างไกลออกไป
  • การพบแพทย์ แบบ เชื่อมตรงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • รูปแบบการบันเทิงตามวันเวลาที่ต้องการของผู้ชม (Video on Demand)
  • การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง และการลงคะแนนเสียงแบบเชื่อมตรง
          เนื่องจาก โครงข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นโครงข่ายเปิดที่เปิดให้ประชาคมโลกใช้กันอย่างเสรี จึงย่อมมีผลกระทบทั้งในแง่ดี และร้ายต่อสิทธิส่วนบุคคล และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของมนุษย์ อินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างไปจากเทคโนโลยีอื่น คือ เป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งของมนุษยชาติ การควบคุมจัดการจึงตกอยู่กับพวกเราทุกคน ที่ต้องคำนึงถึงจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบ ในการใช้อินเทอร์เน็ตให้อย่างถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ถ้าทุกคนตระหนักในภาระนี้ เรา ก็ จะใช้ชีวิต e-Life อย่างมีความสุขในชีวิตบนทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ


อินทราเน็ต (intranet)
          คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
          เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้



เอกซ์ทราเน็ต
          เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้
          ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป


ที่มา www.azizstan.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น